การจัดรูปแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและมีการปรับปรุงแก้ไขและวิวัฒนาการมาตามลำดับโดยจัดให้มีสภาจังหวัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2476 ตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476 ในฐานะของสภาจังหวัดขณะนั้นมีลักษณะเป็นองค์กรแทนประชาชนที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือแนะนำแก่คณะกรรมการจังหวัด ซึ่งยังมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่แตกต่างจากราชการส่วนภูมิภาคหรือเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นตามกฎหมาย ต่อมาในปี พ.ศ.2481 ได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ.2481 ขึ้น โดยมีความประสงค์ที่แยกกฎหมายที่ เกี่ยวกับสภาจังหวัดไว้โดยเฉพาะสำหรับสระสำคัญของพระราชบัญญัติฯ นั้น ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะและบทบาทของ สภาจังหวัดไปจากเดิม กล่าวคือ สภาจังหวัดยังคงทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของคณะกรรมการจังหวัดเท่านั้นจนกระทั้งได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับ บัญชาข้าราชาการและรับผิดชอบในการบริหารราชการในส่วนจังหวัด ของกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ โดยตรงแทนคณะกรรมการ จังหวัดเดิม โดยผลแห่งพระราชบัญญัติฯนี้ทำให้สภาจังหวัดมีฐานะเป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด แต่เนื่องจากบทบาท และการดำเนินงานของสภาจังหวัดในฐานะที่ปรึกษาซึ่งคอยให้คำแนะนำและควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของจังหวัดไม่สู้จะได้ผลตาม ความมุ่งหมายเท่าที่ควร จึงทำให้เกิดแนวคิดที่จะปรับปรุงบทบาทของสภาจังหวัดให้มีประสิทธิภาพโดยให้ประชาชนได้เข้ามามี ส่วนร่วมในการปกครองตนเองยิ่งขึ้น ดังนั้น ในปี พ.ศ.2498 จึงส่งผลให้เกิด “องค์การบริหารส่วนจังหวัด” ขึ้นตามภูมิภาคต่าง ๆ ต่อมาได้มีการประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท ว่าด้วยการจัดระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน กำหนดให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง เมื่อสภาจังหวัดแปรสภาพ มาเป็นสภาการปกครองส่วนท้องถิ่น จึงมีบทบาทและอำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการทำความเข้าใจ ในอำนาจหน้าที่และบทบาทของสภาจังหวัดจากอดีตจนถึงปัจจุบัน จึงขอแบ่งระยะวิวัฒนาการของสภาจังหวัดออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้